หน้าหลัก > บล็อก > เจาะลึกความรู้เรื่องระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) และสิทธิส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA

เจาะลึกความรู้เรื่องระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) และสิทธิส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA

โดย Charoen W

กล้องวงจรปิด tp-link

ใช้งานกล้องวงจรปิดอย่างมั่นใจ ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การใช้งาน

อย่างที่ทุกท่านทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่าในปัจจุบันนี้เราได้เข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ จึงทำให้นวัตกรรมต่างๆ มากมายได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับระบบรักษาความปลอดภัยของกล้องวงจรปิด หรือ CCTV ที่มีการเพิ่มประเภทของกล้องวงจรปิดมากกว่าเมื่อก่อนและได้ถูกยกระดับความปลอดภัยให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันที่เทคโนโลยีได้มีการพัฒนา ก็มีความจำเป็นที่กฎหมายจะต้องสามารถควบคุมการใช้งานให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นกฎหมาย PDPA ที่ถูกประกาศมาเพื่อสิทธิส่วนบุคคลโดยเฉพาะ แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะพวกเรายังสามารถใช้งานกล้องวงจรปิดได้เช่นเดิม ขอเพียงแค่ปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายอย่างถูกต้องเท่านั้นเอง

 

รู้จักกับระบบกล้องวงจรปิดที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน

กล้องวงจรปิด ที่เรามักจะนิยมเรียกกันในชื่อ CCTV ที่ย่อมาจาก Closed circuit television ในปัจจุบันนี้ได้ถูกพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้มีการจำกัดการทำงานเพียงในรูปแบบอนาล็อกอย่างที่เราคุ้นเคยกันอีกต่อไปแล้ว เพราะในยุคสมัยนี้เราสามารถใช้งานกล้องวงจรปิดและเลือกดูได้อย่างเรียลไทม์ตลอดเวลาที่ไหนก็ได้ตามที่เราต้องการ จึงทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยในขณะนี้ได้ถูกเพิ่มประเภทของกล้องวงจรปิดขึ้นมา โดยเราสามารถแบ่งประเภทกล้องวงจรปิดที่นิยมใช้งานในตอนนี้ได้ดังนี้

  • กล้องวงจรปิด Analog Camera หรือกล้องวงจรปิดที่ใช้ระบบสัญญาณอนาล็อก ที่ถือได้ว่าเป็นกล้องวงจรปิดแบบดั้งเดิม ด้วยลักษณะการใช้งานที่ใช้สายสัญญาณในการเดินระบบการทำงานเป็นหลัก อย่างเช่นสายสัญญาณชนิด โคแอคเซียล Coax หรือ RG, CAT5, สายโทรศัพท์ ที่จะถูกต่อเข้ากับ เครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด DVR (Digital Video Recorder) และต่อเข้ากับจอแสดงผล (Monitor) อีกหนึ่งที
     
  • กล้องวงจรปิด HD Analog Camera ถูกจัดเป็นประเภทของกล้องวงจรปิดที่มีพัฒนามาจากระบบการทำงานเดิมของ Analog Camera ซึ่งได้มีการพัฒนาต่อยอดในเรื่องความละเอียด ความคมชัดของภาพที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นระบบ AHD, HDCV, HDSDI, HDTVI ที่จะมีความละเอียดสูงตั้งแต่ 720p - 1080p เลยทีเดียว
     
  • กล้องวงจรปิด IP Camera (Internet Protocol Camera) หรือกล้องวงจรปิดที่ใช้ระบบส่งข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล จัดเป็นอีกหนึ่งกล้องวงจรปิดที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน มีความละเอียดสูง และยังมีฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถรับชมภาพสดได้บนระบบเครือข่าย Internet กล้องวงจรปิดประเภท IP นี้ถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งการใช้งานทั้งแบบใช้สาย (Wiring) และแบบไร้สาย (Wireless)

 

ใช้งานกล้องวงจรปิดให้ปลอดภัยเริ่มต้นจากทำความรู้จักกับกฎหมาย PDPA

กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือกฎหมายใหม่ที่ถูกให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ซึ่งว่าด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลที่จะต้องถูกนำไปใช้อย่างเป็นธรรม มีความโปร่งใส และต้องได้รับการดูแลให้ไม่มีการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดอีกด้วย โดยกฎหมาย PDPA นั้นได้กำหนดว่า หากมีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จำเป็นต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลหรือให้เป็นไปตามที่กฎหมายได้มีการบัญญัติไว้เสมอ โดยจะต้องทำการแจ้งวัตถุประสงค์สำหรับการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน และมีความจำเป็นต้องใช้งานให้ตรงจุดประสงค์ที่แจ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมเปิดโอกาสให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข ขอสำเนา หรือแม้กระทั่งการลบข้อมูลเหล่านั้น ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเหมาะสมด้วยการใช้งานกล้องวงจรปิดแต่ละจุดประสงค์

หากว่าตามด้วยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA แล้วบอกได้เลยว่าการใช้งานกล้องวงจรปิดที่จำเป็นต้องมีการบันทึกภาพถ่าย หรือ ภาพวิดีโอผู้อื่น ก็ถูกจัดเป็นหนึ่งในข้อมูลส่วนตัวของบุคคลเช่นเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลไปเพราะเราสามารถใช้งานกล้องวงจรปิดได้อย่างปลอดภัยขอแค่เพียงปฏิบัติอย่างถูกต้องตามจุดประสงค์การใช้งานต่างๆดังนี้

  • ใช้กล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ส่วนหรือกิจกรรมในครอบครัว สำหรับผู้ใช้กล้องวงจรปิดท่านใดที่ใช้งานกล้องวงจรปิดภายในพื้นที่อาศัย ไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติใดๆเพิ่มเติมทั้งสิ้น เนื่องจากกฎหมาย PDPA ได้มีข้อยกเว้นตามมาตรา 4(1) ซึ่งไม่ได้บังคับใช้กฎหมายนี้แก่การรวบรวมใช้ หรือ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
     
  • ใช้กล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงาน ร้านค้า บริษัท หรือ องค์กร หากท่านเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดใช้งานในสถานที่เหล่านี้จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA 3 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
     
    • จำเป็นต้องติดตั้งป้ายแจ้งเตือน ประกาศ หรือ สติ๊กเกอร์ ให้ผู้เข้าใช้บริการ หรือ ลูกค้า ทุกท่านให้ทราบว่าสถานที่นี้มีการติดตั้งใช้งานกล้องวงจรปิดอยู่
       
    • จำเป็นต้องจัดทำและประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวสำหรับการใช้งานกล้องวงจรปิด (CCTV Policy) โดยจะต้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ในการเก็บบันทึกและการใช้ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดที่เราติดตั้ง และต้องปฏิบัติตามจุดประสงค์ที่เรากำหนดเท่านั้น
       
    • ไม่นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บบันทึกข้อมูลจากกล้องวงจรปิดไปใช้ในการละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ หรือ ลูกค้า ตัวอย่างเช่นการประจานหรือการติดประกาศภาพจากกล้องวงจรปิดที่จะทำให้ผู้ใช้บริการ หรือ ลูกค้า ไปในทางเสื่อมเสียชื่อเสียง

 

จะเห็นได้ว่าระบบรักษาความปลอดภัยของกล้องวงจรได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากอดีต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความละเอียด ความคมชัด ของภาพที่สามารถบันทึกได้ หรือจะเป็นฟังก์ชันการใช้งานที่เอื้ออำนวยให้เราสามารถรับชมภาพจากกล้องวงจรปิดได้อย่างทันท่วงทีจากที่ไหนก็ได้ขอแค่เพียงมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Internet และในขณะเดียวกันเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติวิธีการใช้งานกล้องวงจรปิดแต่ละจุดประสงค์ให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของทั้งตนเองและผู้อื่นนั่นเอง

หากท่านใดต้องการปรึกษาเรื่องการเลือกใช้งานกล้องวงจรปิดที่เหมาะสม หรือ ใช้งานอย่างไรให้สอดคล้องกับหลักกฎหมาย PDPA การเลือกใช้บริการจาก TP-Link ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยประสบการณ์ในการให้บริการมาแล้วมากกว่า 27 ปี ทำให้เราเป็นผู้ให้บริการระดับโลกที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์เครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือสูงด้วยมาตรฐานในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ จัดจำหน่ายสินค้าส่งออกมากกว่า 170 ประเทศทั่วทุกมุมโลก และเรายังมีทีมงานมืออาชีพด้านระบบรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ สามารถให้คำแนะนำกับผู้ที่สนใจใช้งานกล้องวงจรปิด ให้คำแนะนำเพื่อให้ได้ประเภทกล้องวงจรปิดที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

 

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพิ่มเติม
และติดตามข้อมูลข่าวสารจาก TP-LINK ได้ที่ 

www.tp-link.com
Line : @tplink หรือ คลิกที่นี่
Facebook: facebook.com/tplinkth
YouTube: www.youtube.com/@TPLINK-TH

Charoen W

จาก United States?

Get products, events and services for your region.